โครงสร้างระบบรองรับน้ำหนัก ของรถกระบะหลายค่าย วิศวกรได้ถูกคำนวณไว้แล้ว ว่าควรรับน้ำหนัก รองรับความเร็ว ของสมรรถนะรถ แต่ถ้าซื้อมาวิ่งพาณิชย์ มันต้องเกินหรือจำเป็นต้องต่อเติมเพื่อลดต้นทุนค่าขนส่ง หวังกำไร และการแข่งขัน กันทุกด้านเพื่อความอยู่รอด
วันที่ 4 ธ.ค.64 ผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อคุณ “ทวีศักดิ์ จันคำ” ได้ออกมาโพสต์ตั้งคำถามเล่าว่า..”ไม่เข้าใจทำไมคนถึงว่ารถคอกกันมาก ทั้งที่กฎหมายอนุญาตให้ต่อเติมได้ แล้วจริงแล้วผมก็สงสัยกับเพื่อนว่าการบรรทุกขนาดนี้มันน่าจะเกินความสามารถของโครงสร้างรถกระบะ สรุปคนต่อเติมผิดหรือกฎหมายอนุญาตไม่สอดคล้องกับสภาพรถ” บางครั้งก็ต้องยัดให้คุ้มเพราะราคาสินค้าพืชผลการเกษตร ควรขึ้นให้สัมพันธ์กันกับค่าขนส่ง
“รถประเภทนี้จดทะเบียนเป็นรถ”กระบะบรรทุกส่วนบุคคล”ใช้กฎหมายเดียวกับ รถยนต์นั่งส่วนบุคคล..ที่ขนส่งอนุญาตให้รถบรรทุกส่วนบุคคลต่อเติมได้ เพราะเพื่อเพิ่มความแข็งแรงกับตัวรถ.เพราะรถมาเดิมๆไม่สามารถตอบสนองการขนส่งบรรทุกของประเทศไทยได้..แต่น้ำหนักรถเปล่าต้องไม่เกิน2,200กก..แล้วอีกอย่างรถประเภทนี้ไม่มีกฎหมายบังคับเรื่องน้ำหนักบรรทุก(เพดานน้ำหนักบรรทุก)”ยกเว้นทางพิเศษยกระดับ”เราจึงเห็นรถประเภทนี้แบกกันหนักๆ..สาเหตุก็มีหลายอย่าง.เช่น ราคาขายสินค้านั้นๆไม่สอดคล้องกับราคาต้นทุน
การลดต้นทุนจากการขนส่ง.คือ1ทางเลือกของผู้ค้าหรือผู้จ้างวาน หรือผู้นำสินค้าไปขายครับ..ส่วนเรื่องที่มีคนชอบด่า ชอบว่ารถประเภทนี้.ก็ต้องแยกเป็นคนๆเป็นเรื่องๆไปครับ..แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมทุกอย่างครับที่บีบบังคับ”
“หลายคนแนะนำให้ซื้อ 4 ล้อกลาง แต่บางคนก็ไม่อยากจะมีรายจ่ายเพิ่มนั้นเอง”อย่างไรก็ตาม การต่อเติมได้ก็ไม่ใช่ว่าจะบรรทุกเกินได้ กระบะบรรทุกรุ่นโดยทั่วไปแล้วจะรับน้ำหนักได้ ประมาณ ไม่เกิน 3 ตัน หลายคนนำไปดัดแปลงบรรทุกหนักเกินจนเกินกำลัง คาดว่าน่าจะบรรทุก 4 ตันขึ้นไปถึงจะทำให้รถหักครึ่งได้ขนาดนี้