เปิดชื่อพายุที่รุนแรงที่สุด วันที่ 22-23 มิ.ย. 2565 นี้ รับมือให้ดี

เมื่อเวลา 04.00 น. ของวันนี้ (21 มิ.ย. 2565) พายุระดับ 2 (ดีเปรสชัน) หลิ่นฟา ได้อ่อนกำลังลงเป็นพายุระดับ 1 (หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง) บริเวณเมืองอัตตะปือ ประเทศลาว แล้ว ทำให้ด้านตะวันออกและตอนล่างของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนเพิ่มขึ้น โดยมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณจังหวัดมุกดาหาร ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ และนครราชสีมา

สำหรับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังแรง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ ภาคกลางตอนล่าง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบน ในช่วงวันที่22-23 มิ.ย. 2565 มีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้

สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือขนาดเล็กงดการเดินเรือ

อนึ่ง พายุระดับ 2 (ดีเปรสชัน) บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน มีแนวโน้มจะทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุระดับ 3 (โซนร้อน) ในระยะต่อไป คาดว่า จะเคลื่อนเข้าใกล้เกาะไหหลำในช่วงวันที่22-23 มิ.ย. 2565

จึงขอให้ประชาชนติดตามประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา และสามารถติดตามข้อมูลที่เว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา http://www.tmd.go.th หรือสายด่วนพยากรณ์อากาศ 1182 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ประกาศ ณ วันที่21มิ.ย. 2565 เวลา 04.00 น.

กรมอุตุนิยมวิทยาจะออกประกาศฉบับนี้เป็นฉบับสุดท้ายของเหตุการณ์นี้

ด้านสมาคมดาราศาสตร์ไทย ได้พยากรณ์สภาพอากาศ จากข้อมูลล่าสุดเมื่อวันที่ 21 มิ.ย. 2565) พบว่า ต้องจับตาพายุ 3 ลูก ซึ่งจะพาร่องฝนพาดผ่านประเทศไทยยาวๆ 1 สัปดาห์ คือ

1. พายุหลิ่นฟา (Linfa) ส่งผลกระทบในวันที่ 22-23 มิ.ย. 2565

2. พายุลูกที่ 2 (คาดว่าชื่อ นังกา Nangka) กำลังก่อตัวในทะเลจีนใต้ ส่งผลกระทบในวันที่ 22-23 มิ.ย. 2565

3. พายุลูกที่ 3 น่าจะแรงที่สุด (คาดว่าชื่อ โซเดล Saudel) กำลังก่อตัวใกล้ฟิลิปปินส์ ส่งผลกระทบในวันที่22-23 มิ.ย. 2565

คาดการณ์ปริมาณฝนตก (22-23 มิ.ย. 2565)

ภาคเหนือ ร้อยละ 30 ของพื้นที่

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 60 ของพื้นที่

ภาคกลาง ร้อยละ 80 ของพื้นที่

ภาคตะวันออก ร้อยละ 80 ของพื้นที่

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก) ร้อยละ 70 ของพื้นที่

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก) ร้อยละ 80 ของพื้นที่

กรุงเทพและปริมณฑล ร้อยละ 80 ของพื้นที่

Facebook Comments Box

ใส่ความเห็น